
Cognitive Learning
ศาสตร์แห่งการเรียนรู้ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงาน
Cognitive Learning คืออะไร?
Cognitive Learning คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ โดยอาศัยความเข้าใจเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น มุ่งเน้นประเด็นไปที่ความรู้สึก และความคิดของแต่ละปัจเจกบุคคล (Individual) มากกว่าการใช้รูปแบบพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) นั่นเพราะความเชื่อที่ว่าแต่ละคนมีวิธีเรียนรู้และจัดการปัญหาแตกต่างกันออกไป
แนวคิด Cognitive learning เป็นแนวคิดที่มีประสิทธิภาพสำหรับการฝึกอบรมในองค์กรเป็นอย่างมาก การใช้พื้นฐานของ Cognitive Learning มาช่วยในการฝึกอบรม ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าใจทฤษฎีและทักษะที่ต้องการในการปฏิบัติงานในองค์กรได้เป็นอย่างดี และนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ทางการทำงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทุกคนสามารถเพิ่มศักยภาพของสมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ตามแนวทางของ Metacognition โดยเริ่มจาก
ทำความเข้าใจกับ Metacognition
Metacognition คือ ทักษะของแต่ละบุคคลที่มีผลต่อกระบวนการทางความคิดของตนเองตั้งแต่การเรียนรู้ การวางแผนอย่างเป็นระบบ การรู้จักแก้ไขปัญหา หรือหากอธิบายแบบเข้าใจง่ายก็คือ การวิเคราะห์ตนเอง การคิดเกี่ยวกับความคิดของตนเอง เหมือนการถอดตัวออกไปข้างหลังแล้วมองดูการทำงานของสมองตนเอง การที่ตัวเราเกิดการรับรู้ทุกอย่างว่าตอนนี้สมองของเรากำลังทำอะไรอยู่ รับข้อมูล? ประมวลผล? หรือสร้างการจดจำ? เพื่อเพิ่มศักยภาพทางความคิดของตนเองให้อยู่ในจุดสูงสุดพร้อมจัดการทุกอย่างได้ตามแนวคิดที่ประเมินแล้วว่าเหมาะสม
Cognitive Learning Loop
ลูปการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากการมองภาพกว้างๆ ของสิ่งที่เรากำลังจะเรียนรู้ และทำความเข้าใจว่าทำไมเราถึงอยากเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ตอบให้ได้ว่าทำไมการเรียนรู้สิ่งนั้นถึงสำคัญ ผ่านกระบวนการจดจำทีละนิดละน้อย ค่อยๆ เชื่อมโยงความรู้ใหม่เข้ากับข้อมูลที่เรารู้อยู่แล้ว แล้วจึงนำความรู้หรือทักษะนั้นไปใช้ในชีวิตจริง เมื่อเรานำไปปรับใช้แล้ว เราย่อมเห็นข้อบกพร่อง หรือเกิดความสงสัยในเรื่อง อื่นๆ ต่อไปเรื่อยๆ นำมาสู่การมองภาพกว้างอีกครั้ง แล้วท้ายที่สุดก็จะเกิดเป็นลูปการเรียนรู้ที่เรียกว่า “Cognitive Loop”

From Short-term to Long-term Memory
ปฏิเสธไม่ได้ว่าความจำเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถจัดการกับทุกสิ่งรอบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเคยเรียนรู้หลักการทางบัญชีเพื่อใช้กับการทำงาน หากจดจำวิธีจดบันทึก การคำนวณ หรือเทคนิคต่างๆ ได้ นั่นจะช่วยให้ทุกอย่างผ่านไปด้วยความราบรื่น ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญมากที่สมองควรเก็บรักษาข้อมูลที่มีประโยชน์เอาไว้เสมอ
วิธีง่ายๆ สุดแสน Cliché ในการเปลี่ยนความจำระยะสั้นให้ลายเป็นความจำระยะยาวนั่นก็คือ “การทำแบบเดิมซ้ำๆ (Repetition)” ไม่ว่าจะเป็นการท่องจำ การทดลองทำบ่อยๆ หรือแม้แต่การเรียนรู้ในเรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถึงจะเป็นวิธีที่หลายคนอาจจะรู้อยู่แล้ว แต่วิธีนี้ก็มักจะได้ผลเสมอ ในการช่วยให้คุณเกิดความคุ้นชินและจดจำได้ดีในที่สุด
ข้อดีของ Metacognition ที่ผู้บริหาร หัวหน้า หรือ HR ต้องให้ความสำคัญ
- เข้าใจวิธีจัดระเบียบความคิด และวิธีการเรียนรู้ของพนักงานแต่ละคน เพื่อที่จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพแนวทางการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ให้สอดคล้องกับตัวบุคคลมากที่สุด
- ให้อิสระกับแต่ละบุคคลเพื่อพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพของตนเอง
- เสริมสร้างความมั่นใจ การมีส่วนร่วม และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตัวพนักงาน
- พนักงานสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ผลลัพธ์เชิงบวกตามที่องค์กรต่างคาดหวัง
- กระตุ้นให้พนักงานต้องอัปเดตข่าวสาร และเทรนด์ใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
- ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้ รวมถึงคนวัยทำงานที่มีเวลาน้อย
ลดความเหนื่อยล้าในกระบวนการเรียนรู้ด้วย Cognitive Learning
การเรียนรู้แบบ Cognitive Learning เปรียบได้กับขั้นตอนวอร์มอัพ ยืดเส้นยืดสาย เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบค่อยเป็นค่อยไป ยกตัวอย่างง่ายๆ หากเราอยากเป็นนักวิ่งที่เก่งกาจ เราคงจะไม่ลุกจากเตียงในตอนเช้าแล้วออกไปวิ่งในทันที เพราะโอกาสที่ร่างกายจะได้รับบาดเจ็บมีสูงมาก ดังนั้นเราต้องเริ่มต้นด้วยการวอร์มอัพร่างกาย และยืดกล้ามเนื้อ เพื่อให้ร่างกายเกิดความคุ้นชิน ลดโอกาสเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บ ในลักษณะเดียวกัน สมองของคนเราก็ทำงานไม่ต่างจากกล้ามเนื้อ แต่คนส่วนใหญ่มักลืมข้อนี้ไป สมองก็ต้องการการวอร์มอัพ ยืดเส้นยืดสาย เตรียมความพร้อม ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการการเรียนรู้อย่างประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นการเรียนรู้ในลักษณะ Cognitive Learning ก็มีรูปแบบไม่ต่างกัน ทุกคนควรต้องหมั่นฝึกฝนโดยเริ่มต้นจากการวอร์มอัพสมองอยู่เสมอ
Cognitive Learning กับการวัดค่า ROI
การวัดค่า ROI (Return on Investment) ของรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็น Soft Skill อย่างการเรียนภาษามักทำได้ยาก เนื่องจากผลลัพธ์มักเป็นสิ่งที่หลายคนมองว่าจับต้องไม่ได้ (Intangible) เราจึงควรมองความคุ้มค่าของสิ่งเหล่านี้ไปให้ไกลและลึกมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพราะผลลัพธ์จากการเรียนรู้อาจไม่ได้ส่งผลกับการวัดค่า ROI ได้โดยตรง
แล้ว ROI ที่เราจะสามารถวัดค่าได้จริงๆ คืออะไร?
- ความก้าวหน้าของผลลัพธ์ที่เติบโตและพัฒนาไปในทิศทางที่ดี
- การแสดงออก พฤติกรรม หรือความพึงพอใจที่เปลี่ยนไปในเชิงบวก
- เกิดแรงจูงใจ ความทะเยอทะยานมากขึ้น
จากทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมา ทำให้เห็นว่า ROI จะวัดค่าได้ก็ต่อเมื่อแต่ละบุคคลสามารถนำความรู้ใหม่ๆ ไปใช้แล้วสร้างผลสำเร็จให้กับทั้งองค์กรและตัวบุคคลเอง ซึ่งสิ่งนี้เป็นแนวทางที่จะทำให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุด และสามารถนำไปต่อยอดได้แบบไม่มีที่สิ้นสุด
แน่นอนว่าบทเรียนของ Busuu ก็ได้มีการนำหลักการของ Cognitive Leaning มาปรับใช้เช่นเดียวกัน ผู้เรียนจะได้เรียนในบทเรียนที่สั้น กระชับ และย่อยง่าย หรือที่เรียกว่า Bite-Sized Lessons มีสื่อการสอนหลากหลายรูปแบบที่กระตุ้นให้เกิดการจดจำ มีแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ลองทดสอบความเข้าใจ พร้อมระบบ AI ที่ช่วยประเมินจุดอ่อน/ จุดแข็งของตัวผู้เรียน โดยระบบจะนำคำศัพท์ที่เป็นจุดอ่อนหรือคำที่ผู้เรียนตอบผิดบ่อยๆ ขึ้นมาถามซ้ำๆ เพื่อสร้าง Repetition และทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในที่สุด
สนใจเรียนภาษาอังกฤษสำหรับองค์กร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
📌Line: @edusoftxth
📌Tel: 02 241 6870
Share This :
Our resources